การตั้งสมมติฐานการวิจัย
ความหมายของสมมติฐาน
สมมติฐาน คือ คำตอบที่ผู้วิจัยคาดคะเนไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผล หรือสมมุติฐานคือข้อความที่อยู่ในรูปของการคาดคะเนความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
2 ตัว หรือมากกว่า 2 ตัวเพื่อใช้ตอบปัญหาที่ต้องการศึกษา
สมมติติฐานที่ดีมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ 2 ประการคือ
1.
เป็นข้อความที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
2.เป็นสมมติฐานที่สามารถทดสอบได้โดยวิธีการทางสถิติ
ประเภทของสมมติฐาน มี 2 ชนิด คือ
1.
สมมติฐานทางการวิจัย (Research hypothesis)
2.
สมมติฐานทางสถิติ (Statistical hypothesis)
1.
สมมติฐานทางการวิจัย (Research hypothesis)
หมายถึงการคาดคะเนคำตอบของการวิจัยไว้ล่วงหน้าที่เขียนอยู่ในรูปข้อความ
หรือประโยคที่แสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป
ประเภทของสมมติฐานการวิจัย
1.
สมมติฐานแบบมีทิศทาง (directional hypothesis) เป็นสมมติฐานที่เขียนโดยระบุทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรซึ่งอาจสัมพันธ์ทางบวก-ทางลบหรือมากกว่า-น้อยกว่า
ตัวอย่างของสมมติฐานแบบมีทิศทาง (directional
hypothesis)
-
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่อยู่กับพ่อแม่
หรือผู้ปกครองสูงกว่านักศึกษาที่อยู่หอพัก
-
ความเชื่อในความสามารถตนกับผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนของนักเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวก
-
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้สื่อ
CAI
-
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้สื่อ
CAI
สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ
2.
สมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง (non - directional hypothesis) เป็นสมมติฐานที่เขียนโดยไม่ได้ระบุทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
หรือระบุทิศทางของความแตกต่างของตัวแปร
ตัวอย่างสมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง
(non
- directional hypothesis)
-
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่อยู่กับพ่อแม่
หรือผู้ปกครองแตกต่างจากนักศึกษาที่อยู่หอพัก
-
ความเชื่อในความสามารถตนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามีความสัมพันธ์กัน
-
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนแตกต่างจากก่อนเรียนโดยใช้สื่อ
CAI
-
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้สื่อ
CAI กับนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะแตกต่างกัน
2.
สมมติฐานทางสถิติ (Statistical hypothesis)
หมายถึงการคาดคะเนคำตอบการวิจัยโดยใช้สัญลักษณ์หรือ
โครงสร้างทางคณิตศาสตร์ที่แปลความมาจากสมมติฐานการวิจัย เพื่อใช้ในการทดสอบสมมติฐานต่อไป
ประเภทของสมมติฐานทางสถิติ
1.
สมมติฐานเป็นกลาง (null hypothesis : Ho) เป็นสมมติฐานที่เขียนอธิบายความสัมพันธ์ในลักษณะที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน
หรือไม่มีความแตกต่างกัน
2.
สมมติฐานทางเลือก (alternative hypothesis : H1 หรือ
Ha) เป็นสมมติฐานที่แปลงมาจากสมมติฐานการวิจัยซึ่งเขียนอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและกำหนดควบคู่กับสมมติฐานเป็นกลาง
สัญลักษณ์ที่ใช้เขียนสมมติฐาน
m แทน คะแนนเฉลี่ยของประชากร
s2 แทน ความแปรปรวนของประชากร
r
แทน ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
ตัวอย่างที่
1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สื่อ
CAI
สมมติฐานการวิจัย
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้สื่อ
CAI
สมมติฐานทางสถิติ
Ho
: µ1 =
µ2
HA : µ1 >
µ2
เมื่อ µ1
แทน
ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้สื่อ CAI
µ2
แทน ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนโดยใช้สื่อ CAI
ตัวอย่างที่
2
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการบริหารของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี
เขต 1 เมื่อจำแนกตามสังกัดเดิม (ประถมศึกษา - มัธยมศึกษา)
สมมติฐานการวิจัย
ผู้บริหารสถานศึกษามีความพึงพอใจต่อการบริหารงานของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี
เขต 1 แตกต่างกันเมื่อจำแนกตามสังกัดเดิม
สมมติฐานทางสถิติ
Ho
: µ1 =
µ2
HA : µ1 ¹
µ2
เมื่อ µ1
แทน ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
ต่อการบริหารงานของผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1
µ2
แทน ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาต่อการบริหารงานของผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี
เขต 1
ตัวอย่างที่
3
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อในความสามารถตนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสมมติฐานการวิจัย
ความเชื่อในความสามารถตนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา
สมมติฐานทางสถิติ
Ho
: rAB
= O
HA
: rAB
> O
เมื่อ rAB
แทน ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อในความสามารถตนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
บทเรียนเสริม
วิดีโอเรื่อง การตั้งสมมติฐานการวิจัยระดับอุดมศึกษา
https://www.youtube.com/watch?v=SDZZCwe5QhM
แหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติม
การเขียนสมมติฐานการวิจัย
https://etraining2012.wordpress.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88/
สมมติฐาน (Hypothesis testing)
วิดีโอเรื่อง การตั้งสมมติฐานการวิจัยระดับอุดมศึกษา
https://www.youtube.com/watch?v=SDZZCwe5QhM
แหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติม
การเขียนสมมติฐานการวิจัย
https://etraining2012.wordpress.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88/
สมมติฐาน (Hypothesis testing)